วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ตลาดหุ้นคืออะไร

ตลาดหุ้นคืออะไร

เศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นหลายคนคงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีทั้งขาขึ้น และขาลง ไม่ว่าจะเป็นช่วงเศรษฐกิจเติบโตเต็มที่แบบฟองสบู่หรือช่วงที่เกิดปัญหาวิกฤติทางด้านการเงินและวิกฤติเศรษฐกิจอย่างหนัก ในช่วงปี พ.ศ. 2540 ถึงปี 2542ทำให้บริษัท ห้างร้าน รวมถึงประชาชนทั่วไปตั่งแต่ระดับร่ำรวยจนถึงยากจน ล้มละลายและได้รับผลกระทบกันไปตามๆกัน
ทำให้หลายๆคนต้องดิ้นรนต่อสู้และทำทุกๆอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้ที่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายของตัวเองซึ่งเราได้ฝ่าฟันวิกฤติต่างๆที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี จนถึงในปัจจุบันนี้เศรษฐกิจของประเทศเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามลำดับ

ซึ่งจากประสบการณ์ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้แนวความคิดในการหารายได้ของคนเริ่มเปลี่ยนไป หลายคนเริ่มอยากที่จะมีธุรกิจเป็นของตัวเอง อยากเป็นเจ้าของกิจการของตัวเอง ซึ่งเมื่อหลายคนคิดแบบนี้กันมากขึ้น ทำให้มีภาวะการแข่งขันกันเพิ่มสูงขึ้น และเกิดปัญหาในด้านการเข้าถึงแหล่งเงินทุนตามมา จึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆในการที่จะเป็นเจ้าของกิจการของตัวเอง

แต่อย่างไรก็ตาม มีสิ่งหนึ่งที่จะมาเติมเต็มความฝันของคนเหล่านี้ได้ นั่นก็คือ การร่วมเป็นเจ้าของกิจการกับบริษัทต่างๆ ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ หรือการลงทุนในตลาดหุ้นนั่นเอง

ตลาดหุ้น คืออะไร?
ตลาดหุ้น หรือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย คือ ตลาดซึ่งเป็นแหล่งรวมของบริษัทหลายๆ บริษัท ที่เข้ามาทำการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้ผู้ที่มีเงินเหลือเก็บ ซึ่งเราเรียกว่า "นักลงทุน" เข้ามาร่วมลงทุน และนักลงทุนเหล่านั้นก็จะเป็นหนึ่งในผู้ร่วมถือหุ้นของบริษัทหรือร่วมเป็นเจ้าของในบริษัทนั้นๆ

การลงทุนในตลาดหุ้นจึงเป็นทางเลือกเพื่อการออมเงินในระยะยาวที่ผู้ออมสามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันการขาดทุนที่เกิดจากระดับอัตราเงินเฟ้อได้ ตลาดหลักทรัพย์จัดตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517

นิรโทษกรรม คือ อะไร

 นิรโทษกรรม คือ อะไร


เงื่อนไขด้าน "องค์กร" ผู้มีอำนาจตรากฎหมายนิรโทษกรรม
          จากการศึกษากฎหมายนิรโทษกรรมของไทยที่ผ่านมาในอดีต ซึ่งปรากฏอยู่หลายฉบับ พบว่า หากไม่นับพระราชกำหนดนิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พุทธศักราช 2475 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนั้น โดยปกติ กฎหมายนิรโทษกรรมจะตราอยู่ในรูปของ "พระราชบัญญัติ" หรือ "พระราชกำหนด"  เท่านั้น ซึ่งหมายความว่า ฝ่ายนิติบัญญัติ หรือฝ่ายบริหารเท่านั้นที่มีอำนาจตรากฎหมายนิรโทษกรรม

          เเต่ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 (ซึ่งผู้ร่าง ประสงค์จะให้เป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับถาวร เเละเป็นผลผลิตของ ส.ส.ร. ที่มาจาก คมช.) เดินตามมาตรา 222 ของรัฐธรรมนูญปี 2534 ซึ่งออกในสมัย รสช. โดยมาตรา 309 กลับรับรองเรื่องนิรโทษกรรมไว้ ขณะที่หากเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2517 ที่ร่างในบรรยากาศประชาธิปไตยมากกว่านี้ มาตรา 4[1] กลับห้ามมิให้มีการนิรโทษกรรมไว้อย่างชัดเจน
เนื่องจากมีหลักกฎหมายทั่วไปว่า "บุคคลไม่สามารถอ้างประโยชน์จากการกระทำความผิดของตนได้" หรือหลัก "ไม่มีใครเป็นผู้พิพากษาในเรื่องที่ตนเองมีส่วนได้เสีย" [2] การออกกฎหมายนิรโทษกรรม ควรให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้พิจารณาในเรื่องนี้จะสมควรกว่า

          อีกทั้งมีเรื่องการลงประชามติของรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่งไม่ควร "ยืมมือประชาชน" มาฟอกตัวให้กับผู้กระทำความผิดฐานล้มล้างรัฐธรรมนูญ เเละองค์กรเฉพาะกิจอย่าง คตส.ด้วย

เงื่อนไขด้าน "เวลา"
          รากศัพท์ของคำว่า "amnesty" มาจากภาษากรีก คือ "amnestia" เเปลว่า "ทำให้ลืม" คือลืมจากเหตุการณ์ หรือความผิดในอดีต (past offense)

อาชญากรรม

อาชญากรรม
สำหรับความหมายของอาชญากรรม  มีผู้ให้ความหมายไว้มากมายแตกต่างกัน สามารถสรุปได้ดังนี้
อาชญากรรมในความหมายอย่างกว้าง
อาญา หมายถึง อำนาจ โทษ
(ใช้สำหรับ พระเจ้าแผ่นดิน)
กรรรม หมายถึง การกระทำที่สนองผลร้ายที่ทำไว้แต่ปางก่อน
อาชญากรรม คือ การกระทำซึ่ง
1. มีการกระทำผิด เจตนา
2. ลักษณะความผิด *ร้ายแรง อันตรายต่อสังคม
                                *กฎหมายเข้าไปดำเนินการ
3. ได้รับโทษ
*สมาชิกของสังคม
*กฎหมายบ้านเมือง
-เป็นขั้นตอน
-เป็นทางการ
สรุปได้ว่า อาชญากรรมในความหมายอย่างกว้าง หมายถึง พฤติกรรมที่มีการกระทำผิดโดยผู้กระทำผิดมีเจตนาในการกระทำดังกล่าว โดยเป็นการกระทำความผิดที่มีลักษณะร้ายแรง มีความรุนแรงและเป็นอันตรายต่อสังคม ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบจำนวนมหาศาลต่อสังคม  อันเป็นการกระทำที่มีการละเมิดต่อกฎหมายบ้านเมือง ผู้กระทำผิดจะต้องได้รับโทษทั้งที่ไม่เป็นทางการจากสมาชิกในสังคม อาทิ การตำหนิ ติเตียน การไม่คบหาสมาคมด้วย และการได้รับโทษที่เป็นทางการจากข้อกำหนดของกฎหมายบ้านเมือง โดยผู้กระทำผิดจะต้องถูกลงโทษโดยผ่านกระบวนการยุติธรรมเป็นสำคัญ

อาชญากรรมในความหมายอย่างแคบ
อาชญากรรม คือ การกระทำที่ละเมิดต่อกฎหมายที่มีโทษทางอาญา
อาชญากร  คือ  ผู้กระทำผิดทางอาญาที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิดและได้รับโทษทางอาญา
สรุปได้ว่า อาชญากรรมในความหมายอย่างแคบ คือ พฤติกรรมที่เป็นการละเมิดต่อกฎหมายอาญาเท่านั้น โดยการพิจารณาพฤติกรรมการกระทำของบุคคลในสังคมตามข้อกำหนดของกฎหมายอาญาเท่านั้น ไม่ได้คำนึงถึงเจตนา หรือลักษณะของความผิดแต่อย่างใด