วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นิรโทษกรรม คือ อะไร

 นิรโทษกรรม คือ อะไร


เงื่อนไขด้าน "องค์กร" ผู้มีอำนาจตรากฎหมายนิรโทษกรรม
          จากการศึกษากฎหมายนิรโทษกรรมของไทยที่ผ่านมาในอดีต ซึ่งปรากฏอยู่หลายฉบับ พบว่า หากไม่นับพระราชกำหนดนิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พุทธศักราช 2475 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานนั้น โดยปกติ กฎหมายนิรโทษกรรมจะตราอยู่ในรูปของ "พระราชบัญญัติ" หรือ "พระราชกำหนด"  เท่านั้น ซึ่งหมายความว่า ฝ่ายนิติบัญญัติ หรือฝ่ายบริหารเท่านั้นที่มีอำนาจตรากฎหมายนิรโทษกรรม

          เเต่ร่างรัฐธรรมนูญ 2550 (ซึ่งผู้ร่าง ประสงค์จะให้เป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับถาวร เเละเป็นผลผลิตของ ส.ส.ร. ที่มาจาก คมช.) เดินตามมาตรา 222 ของรัฐธรรมนูญปี 2534 ซึ่งออกในสมัย รสช. โดยมาตรา 309 กลับรับรองเรื่องนิรโทษกรรมไว้ ขณะที่หากเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2517 ที่ร่างในบรรยากาศประชาธิปไตยมากกว่านี้ มาตรา 4[1] กลับห้ามมิให้มีการนิรโทษกรรมไว้อย่างชัดเจน
เนื่องจากมีหลักกฎหมายทั่วไปว่า "บุคคลไม่สามารถอ้างประโยชน์จากการกระทำความผิดของตนได้" หรือหลัก "ไม่มีใครเป็นผู้พิพากษาในเรื่องที่ตนเองมีส่วนได้เสีย" [2] การออกกฎหมายนิรโทษกรรม ควรให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้พิจารณาในเรื่องนี้จะสมควรกว่า

          อีกทั้งมีเรื่องการลงประชามติของรัฐธรรมนูญด้วย ซึ่งไม่ควร "ยืมมือประชาชน" มาฟอกตัวให้กับผู้กระทำความผิดฐานล้มล้างรัฐธรรมนูญ เเละองค์กรเฉพาะกิจอย่าง คตส.ด้วย

เงื่อนไขด้าน "เวลา"
          รากศัพท์ของคำว่า "amnesty" มาจากภาษากรีก คือ "amnestia" เเปลว่า "ทำให้ลืม" คือลืมจากเหตุการณ์ หรือความผิดในอดีต (past offense)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น